ทำอย่างไรให้บ้านเย็น

มีหลากหลายวิธีที่ใช้กัน และ แนะนำกัน ก่อนอื่นต้องทราบที่มาของความร้อนที่ถูกสร้างและเข้ามาในบ้าน เพื่อจะได้แก้ที่ต้นเหตุ

  1. ความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์กระทยหลังคา เป็นความร้อนหลัก 80-90% ที่ในบ้านได้รับ และทำให้เราอยู่อาศัยไม่สะบาย

มีหลากหลายวิธีที่คนคิดเพื่อจะป้องกันความร้อนจุดนี้ ตามนี้

1.1 วัสดุหลังคา หลังคาแต่ละชนิดจะรับและส่งต่อความร้อนแตกต่างกัน เช่น กระเบื้องซีแพค กระเบื้องดิน จะสร้างความร้อนน้อย กระเบื้องยิปซั่ม จะสร้างความร้อนสูงขึ้น หรือ หลังคาเมทัลชีส จะสร้างความร้อนมาก รวมถึงสี ของวัสดุหลังคาก็มีส่วนเพิ่ม หรือลดความร้อนการเลือกวัสดุหลังคา จะเลือกตั้งแต่จะสร้าง บ้านหรืออาคาร ตามวัสถุประสงค์การใช้งาน ค่าวัสดุ หรือ โครงสร้างหลังคา หากเลือกหรือทำไปแล้วการเปลี่ยนแลงก็ยาก ค่าใช้จ่ายสูง ระยะเวลาทำนาน 

1.2 การออกแบบลักษณะหลังคา เช่นทรงต่าง ๆ ความลาดชัน และการทำช่องระแนงระบายความร้อน ออกจากใต้ฝ้า การทำสิ่งเหล่านี้ก็มีผลกับการระบายความร้อนที่หลังคาได้รับ และสะสมในช่องฝ้า ก่อนที่จะส่งลงมาในตัวบ้าน หากออกแบบการระบายดี หรือ หลังคามีความลาดชันสูง การสะสมความร้อนก็ต่ำ ทำให้บ้านร้อนน้อยลง แต่หากสร้างไปแล้วการเปลี่ยนแปลงก็ยาก ค่าใช้จ่ายสูง ระยะเวลาก็นาน

1.3 การติดตั้งพัดลมระบายความร้อนใต้หลังคา พลังงานแสงอาทิตย์ วิธีนี้ เป็นวิธีที่ดีที่สุด เมื่อบ้านถูกออกแบบ และสร้างเสร็จไปแล้ว แต่บ้านก๊ยังร้อนอบอ้าว เพราะ มีความร้อนสะสม ในข่องฝ้า การใช้พัดลมดูดความร้อน แล้วถ่ายออกจากช่องฝ้าอย่างรวดเร็ว การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จะไม่เสียค่าไฟ และความเร็วของการระบายความร้อนยังแปรผันตามความร้อนที่หลังคาสร้างขึ้น คือถ้าหลังคาสร้างความร้อนสูงเพราะแสงแดดแรง การระบายความร้อนก็เร็วไปด้วยเพราะไดพลังงานจากแสงอาทิตย์มาก  เมื่ออากาศร้อนถูกดูดออกไป อากาศเย็นจะวิ่งเข้ามาแทนที่ เกิดการไหลเวียนของอากาศ จะไม่มีความร้อนสะสมในช่องฝ้า และไม่มีความร้อนถ่ายลงมาในตัวบ้าน การติดตั้งค่าใช้จ่ายไม่สูง ติดตั้งด้านบนหลังคา ไม้เข้าในตัวบ้าน ติดตั้งรวดเร็ว

1.4 การติดตั้งฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนโดยลักษณะการทำงานเหมือนการชลอความร้อนที่ผ่านหลังคามา การชลอได้มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณชั้นฉนวน สะสมไว้ในฉนวนแทน ไม่ได้กำจัดทิ้งไป ถ้าความร้อนมากกว่าที่ฉนวนซับไว้ได้ ก็จะมีความร้อนในช่องฝ้าอยู่ และในตอนเย็นความร้อนทีอยู่ในฉนวน ก็จะถ่ายออกมา เพราะไม่ได้กำจัดทิ้งไป  อีกทั้งการติดตั้งยุ่งยาก เข้าทำงานในบ้าน เลอะบ้าน ในอนาคตฉนวนที่เป็นไฟเบอร์ก็เกิดการฟั้งกระจายของฝุ่นไฟเบอร์ ราคาการติดตั้งก็สูงกว่าพัดลม

1.5 การติดตั้งสปริงเกอร์น้ำ บนหลังคา ดูเหมือนจะเป็นการกั้น ความร้อนที่หลังคา ด้วยความเย็น แต่ก็มีประสิทธิภาพไม่สูง อีกทั้งการทำระบบน้ำก็มีค่าไฟ ค่าดูแล และความชื้นที่เกิดจากน้ำยังทำลาย วัสดุต่างๆ และโครงสร้าหลังคา 


2.ความร้อนที่ได้รับจากผนัง เป็นความร้อนที่พระอาทิตย์ส่องผนังและถ่ายเข้ามาในบ้าน ประมาณ 10-20% 

2.1 เลือกวัสดุผนัง ผนังแต่ละชนิดจะมีกาซับ และส่งผ่านความร้อน เข้าในบ้าน  วัสดุผนังก็มีส่วนเพิ่ม หรือลดความร้อนการเลือกวัสดุผนัง จะเลือกตั้งแต่จะสร้าง บ้านหรืออาคาร ตามวัสถุประสงค์การใช้งาน ค่าวัสดุ หรือ โครงสร้าง หากเลือกหรือทำไปแล้วการเปลี่ยนแลงก็ยาก ค่าใช้จ่ายสูง ระยะเวลาทำนาน

2.2 การเลือกสีทาผนัง สีอ่อนจะรับามร้อนต่ำ สะท้อนความร้อนได้สูงกว่าสีเข้ม 

2.3 การออกแบบบ้าน ชายคา เพื่อให้คลุมผนัง ออกแบบบ้านให้มีผนังสองชั้น สิ่งเหล่านี้ถ้าออกแบบไว้ก็สามารถช่วยลดความร้อนที่จะส่งผ่านผนังเข้าบ้านได้ แน่นอน แต่ถ้ายังไม่ได้ออกแบบไว้ การทำให้สวย ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง และ ใช้เวลา 

2.4 การปลูกต้นไม้บังแดดด้านที่รับแดดช่วงบ่าย  เป็นวิธีที่ดีมาก แต่ต้องเลือกต้นไม้ให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นก็จะมีปัญหาามมาอีกหลายด้าน